ในปัจจุบันใครๆก็อยากสุขสบาย อยากเป็นเศรษฐีกันทั้งนั้น อะไรที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีคนก็แห่กันไม่ลงทุน ยิ่งในโลกยุคดิจิทัลแบบนี้คงหนีไม่พันการลงทุนของ “คริปโตเคอร์เรนซี” ซึ่งเปลี่ยนชีวิตคนมานักต่อนัก จากคนธรรมดาสามารถกลายเป็นเศรษฐีคริปโตฯได้ในชั่วข้ามคืน แต่ในทางกลับกันก็สามารถเปลี่ยนจากคนรวยเป็นบุคคลล่มละลายได้ในชั่วพริบตาเหมือนกัน หากลงทุนโดยไร้ความเข้าใจ ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักคริปโตเคอร์เรนซีเบื้องต้น
ก่อนอื่นมาแตกความหมายของคำว่า คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) กันก่อน คำแรกคือ Crypto หมายถึงรหัสลับ หรือการที่มีรหัสผ่านแล้วต้องไขเข้าไปให้ๆได้ ส่วนคำถัดมาคือ Currency หมายถึงสกุลเงินหรือเงินตรา เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันกลายเป็น คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือเรียกสั้นๆว่า คริปโตฯ สกุลเงินดิจิทัล หรือ สินทรัพย์ดิจิทัลต้องอาศัยการไขรหัสในการเข้าถึง
คริปโตฯ ตั้งอยู่บน เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ ระบบบันทึกรายการธุรกรรมดิจิทัลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Distributed Ledger Technology หรือ DLT) ทำให้ธุรกรรมต่างๆของคริปโตฯไม่ว่าจะเกิดการซื้อ–ขาย แลกเปลี่ยนใดๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างโปร่งใส ปลอดภัยและยากที่จะปลอมแปลงข้อมูลใดๆ อีกทั้งยังมีการใช้เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ (Decentralization) และการใช้รหัสผ่านแบบสร้างข้อมูลแทนตัว (Cryptographic hashing) ซึ่งคริปโตฯ ส่วนใหญ่อยู่บนบล็อกเชนสาธารณะหรือบล็อกเชนวงเปิด (Public Blockchain)
ปัจจุบันโลกของคริปโตฯ ได้มีการพัฒนาเหรียญออกมาเกือบหนึ่งหมื่นเหรียญ ซึ่งแต่ละเหรียญก็จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต่างกันออกไป ให้นักลงทุนเลือกลงทุน โดยสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 7 ประเภท
เป็นเหรียญที่ผลิตมาจำนวนจำกัด จะไม่มีการเพิ่มจำนวนของเหรียญอีก เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC), Bitcoin Cash (BCH)
เป็นเหรียญของเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งสามารถใช้ “สัญญาอัจฉิรยะ” (Smart Contract) ได้ ดำเนินการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น เหรียญ Ethereum (ETH), Cardano (ADA), Solana (SOL) และ Kusama (KSM)
เป็นเหรียญที่มีการอ้างอิงกับมูลค่าของสินทรัพย์บางอย่าง เพื่อทำให้มูลค่าของเหรียญมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ผันผวนจนเกินไป ใช้สำหรับเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสกุลเงิน Fiat ซึ่ง Stablecoin แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
– Fiat-Collateralized (อ้างอิงด้วยเงินเฟียต),
– Commodity-Collateralized (อ้างอิงด้วยสินค้าโภคภัณฑ์),
– Crypto-Collateralized (อ้างอิงด้วยคริปโตฯ)
– Non-Collateralized (ไม่อ้างอิงด้วยอะไรเลย)
เป็นเหรียญที่ไร้ตัวกลาง ส่วนใหญ่เหรียญประเภทนี้จะถูกสร้างบน Ethereum Blockchain จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “โทเคน” (Token) โดยเหรียญ DeFi มักจะถูกตั้งชื่อตามเครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นผู้ออกเหรียญนั้น ๆ และจะสามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มของผู้ออกเหรียญหรือแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งมูลค่าของเหรียญจะมาจากความนิยมของแพลตฟอร์มผู้ออก รวมถึงความนิยมใน DeFi ด้วย เช่น Maker (MKR), SushiSwap (SUSHI), Uniswap (UNI), Pancakeswap (CAKE) และ Aave (AAVE)
เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในเกมหรือโลกเสมือนจริง (Metaverse) โดยเฉพาะ และรางวัลที่จะได้จากการเล่นเกมจะอยู่ในรูปของเหรียญในกลุ่ม GameFi ซึ่งเราสามารถใช้เหรียญ GameFi ที่ได้มาจากเกม ในการซื้อไอเทมต่าง ๆ ในเกม หรือจะขายบนกระดาน Exchange ก็ได้เช่นกัน เช่น Decentraland (MANA), The Sandbox (SAND), Axie Infinity (AXS)
เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความสนุกโดยเฉพาะ ไม่มีมูลค่าในตัวเองจนกว่าจะถูกปั่นกระแสและได้รับความนิยม ซึ่งราคาของเหรียญในกลุ่มมีมค่อนข้างผันผวน จึงเป็นกลุ่มเหรียญคริปโตฯ ที่เหมาะกับสายเทรดเดอร์ เน้นทำกำไรระยะสั้น เช่น Shiba Inu (SHIB), Dogelon Mars (ELON), Dogs of Elon (DOE)
นี่เป็นเพียงส่วนนึงของคริปโตเคอร์เรนซี่ ที่เรานำมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยให้ได้ทำความเข้าใจกัน และที่สำคัญ ตอนนี้ทางเว็บเราได้นำคริปโตเคอร์เรนซี่เข้ามาเป็นของรางวัลรูปแบบใหม่ ให้นักพนันได้นำเปาพอยต์ที่ได้จากฝากเงินกับเว็บเรามาแลกเพื่อไปทำกำไรในโลกคริปโตกันต่อ หากสนใจในการลงทุนทางด้านนี้จริงๆ ขอแนะนำว่าควรจะศึกษาวิธีการลงทุน หรือความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวผู้เล่นเอง แต่หากยังอยากลงเล่นแบบไม่เสียเงิน ก็นำเปาพอยต์ไปแลกคริปโต แล้วไปลองเทรดดูก็ไม่เสียหาย หากสนใจอยากมีเปาพอยต์ไปแลกคริปโต สามามารถสมัครสมาชิกกับเรา ได้แล้ววันนี้!